วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โครงงานภาษาไทย

ชื่อโครงงาน : ขนมขนมไทย
ผู้รับผิดชอบ : นางสาว ขวัญจิรา โสตถิอนันตชัย ม.4/1 เลขที่ 4
นางสาว วริศรา เรืองวงศ์โรจน์ ม.4/1 เลขที่ 10
นางสาว ณัชชา รัตนศิรินทราวุฒิ ม.4/1 เลขที่ 11
นางสาว ลลิตา คณิสสรมงคล ม.4/1 เลขที่ 32
ที่มาของโครงงาน : เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับขนมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่ซึ่งควรรักษาไว้ ดังนั้นสมาชิกมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรจัดทำเรื่องขนมไทยให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายในหมู่คนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่า ที่อาจจะหลงลืมเห็นความสำคัญของไทย อีกทั้งยังได้ช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมที่มีตั้งแต่ในอดีตจวบจนปัจจุบันให้คงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า
จุดประสงค์ของการทำโครงงาน:
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
2.ได้เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักขนมไทย
3.ได้คงไว้ซึ้งความเป็นเอกลักษณ์ไทย
ขอบเขตของเนื้อหาและระยะเวลาการทำโครงงาน :
คัดเลือก ขนมไทยที่ใช้ในประเพณีต่าง ๆ และ ขนมที่ไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่
ระยะเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์
.หลักวิชาที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน :
๑.หลักความรู้เกี่ยวกับขนม คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม" และ "ข้าวนม" เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)
๒. หลักความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของ
ชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน, วัฒนธรรมในทางวิทยาการหมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า (the way of life) ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนคำว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำสองคำ คำว่า "วัฒน" จากคำศัพท์ วฑฺฒน" ในภาษาบาลี หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากคำศัพท์ "ธรฺม" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า "วัฒนธรรม" หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
วิธีปฏิบัติในโครงงาน :
๑.ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับขนมไทย
๒.คัดเลือกเนื้อหาภายในขอบเขต
๓.เรียบเรียงเนื้อหา
๔.จัดรูปแบบบนอินเตอร์เน็ต ๕.ตรงสอบความถูกต้อง
ตารางการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลา
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
๑.ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับขนมไทย๒.คัดเลือกเนื้อหาภายในขอบเขต๓.เรียบเรียงเนื้อหา๔.จัดรูปแบบบนอินเตอร์เน็ต๕.ตรงสอบความถูกต้อง

ผลที่คาดหวัง : 1.ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป2.ผู้เข้าชมได้รับความรู้เกี่ยวกับขนมไทย3.สามารถทำให้ผู้เข้ารับชมเห็นคุณค่าและรู้จักอนุรักษ์ขนมไทยให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทย

ขนมไทยในงานมงคล

ขนมไทยในงานมงคล


ในงานมงคลต่างๆ ของไทยอย่าง งานแต่งงาน งานทำบุญอายุ งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช ฯลฯ ขนมไทยได้เข้าไปมีบทบาทในสำรับอาหารหวานที่ทำขึ้นเลี้ยงพระและสำรับอาหารหวานสำหรับเลี้ยงแขกเหรื่อมาเนิ่นนานแล้ว เนื่องจากความเชื่อที่สืบทอดต่อๆ กันมาว่า ขนมหวานเป็นอาหารพิเศษสำหรับผู้มีบุญ ความหวานช่วยสร้างสรรค์มิตรภาพและความรัก จึงอาจกล่าวได้ว่าสำหรับสังคมไทยแล้ว ขนมหวานของไทยมีความหมายเกี่ยวข้องกับบุญกุศล ความรัก ความสุข และความสามัคคี นั่นเอง


ขนมตระกูลทอง
ขนมหวานของไทยที่นิยมทำขึ้นเพื่อทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก และขนมที่มีชื่ออันเป็นมงคลอย่าง ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ฯลฯ สาเหตุที่คนไทยในสมัยโบรานใช้ขนมดังกล่าวในงานมงคลก็เนื่องจากชื่ออันเป็นมงคลนั้นเอง โดยเฉพาะชื่อขนมที่มีคำว่า "ทอง" ประกอบ คนไทยเราถือว่าทองเป็นของดีมีมงคล ซึ่งการที่นำขนมที่มีคำว่า "ทอง" มาใช้ในงานมงคลก็เพื่อที่จะได้มีบุญกุศลมีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง



ขนมที่ใช้เฉพาะในพิธีแห่ขันหมากงานแต่งงาน


ก็มี ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมพระพาย ขนมโพรงแสม ขนมชะมด ฯลฯ


ขนมที่ใช้ติดกัณฑ์เทศน์
คือ ขนมหน้านวล ขนมชั้น ขนมฝักบัว ขนมผิง ขนมทองม้วน ฯลฯ


ขนมสามเกลอ
ซึ่งเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคี และไม่มีวันพรากจากกัน โดยใช้เป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงานลักษณะของขนมสามเกลอเป็นลูกกลมๆ เรียงกัน ๓ ลูกแบบก้อนเส้า การเสี่ยงทายจะดูกันตอนทอด กล่าวคือ ถ้าทอดแล้วยังอยู่ติดกัน ๓ ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน ถ้าทอดแล้วติดกัน ๒ ลูก แสดงว่าจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าหลุดจากกันหมด ไม่ติดกันเลย แสดงว่าชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืนหรือชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข อีกนัยหนึ่ง...ถ้าทอดขนมสามเกลอแล้วพองฟูขึ้น จะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมกับราวกิ่งทองกับใบหยก แต่ถ้าทอดแล้วด้าน ไม่พองฟู ก็ถือว่าใช้ไม่ได้